
เรื่องคนคู่คือไขขานมาปล่อยของ คู่แฝดกรีกลงจองตามวิสัย นักบุญเอลโมมีดวงไฟ โลงกับกาแบบไทยนั้นเกี่ยวกัน อัทระปุนัพสุระดมมาเล่า ทีอาซีก็เข้ามาสังสรรค์ ทั้งบ่อทั้งแม่น้ำเหนือใต้พัลวัน สารพันวัตถุที่ชวนชม
กลุ่มดาวคนคู่เริ่มรวบรวมตำนานไว้เมื่อครั้งไปเล่าเรื่องที่หอดูดาวเฉลิมพระเกีรอยรติฯ ที่อ.แปลงยาว วันมีฝนดาวตก แล้วค้นคว้าเพิ่มเติมจนกลายเป็นตอนที่ยาวที่สุด นอกจากยาวที่สุดแล้ว ยังเปลี่ยนเสียงเพลงเปิดรายการ จนถึงปิดรายการ ให้เป็นแนวเดียวกันทั้งหมด ต้องพากย์เสียงเปิดใหม่ด้วย เพราะแนวเพลงไม่เหมือนกับที่เคยใช้
อุปรากรเรื่อง คาสเตอร์และพอลลักซ์ ของราโม เต็มเรื่อง
ไฟของนักบุญเอลโม (St. Elmo’s fire)

ปรากฏการณ์แสงไฟฟ้าในอากาศที่ชาวกรีกโบราณเรียกว่าคาสเตอร์กับพอลลักซ์ ปัจจุบันเรียกกันว่าไฟของนักบุญเอลโม ได้ชื่อจากนักบุญเอรัสมุสแห่งฟอร์เมีย


ภาพจากบทความใน Science Blog, Image credit: Sakurajima Volcananological Observatory
คนไทยสมัยก่อนมองกลุ่มดาวคนคู่เป็นโลง

ดาวนักขัตฤกษ์ ปุนัพสุ คือดาวคาสเตอร์ กับพอลลักซ์ และอีกดวงหนึ่งทางซ้าย บนเส้นประ
ดาวโลง คือดาวเรียงเด่นหลักของกลุ่มดาวคนคู่ บนเส้นสีแดง
ดาวกา ของชาวพัทลุง คือเส้นสีเขียว (ตามแบบของนิพัทธ์พร เพ็งแก้ว ใน ไทบ้านดูดาว)
ดาวจีนในบริเวณกลุ่มดาวคนคู่
คือคณะดาวจิ่ง (คำว่า คณะดาว ผมตั้งขึ้นใหม่เอง เพื่อเป็นการเรียกไม่ให้ซ้ำกับ กลุ่มดาว) จิ่ง คือบ่อน้ำที่มีขอบบ่อ มีดาวประกอบหลายชุด

กำเนิดดาวคนคู่ในตำนานไวกิ้ง
ตำนานนอร์ส ของชาวสแกนดิเนเวีย (ไวกิ้ง) ในยุโรปเหนือ เล่าถึงการเกิดดาวคนคู่จากดวงตาของยักษ์ทีอาซี เทพโลกิต้องทำงานหนัก

(ภาพประกอบโดย บรรลือธนวรรฒ วงษ์เจริญธรรม)
วัตถุน่าสนใจในกลุ่มดาวคนคู่

By Gemini_constellation_map.png: Torsten Brongerderivative work: Kxx (talk) – Gemini_constellation_map.png, CC BY-SA 3.0, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=10839662
ดาวคาสเตอร์ หรือแอลฟาคนคู่ ดาวที่สว่างเป็นที่สองของกลุ่มดาวคนคู่ (แต่ได้ชื่อแอลฟา) ไม่ใช่ดาวดวงเดียว เราเห็นเป็นดวงเดียวเพราะมันอยู่ไกลกว่าสายตาจะแยกออก
ระบบดาวหกดวงของดาวคาสเตอร์แบ่งเป็น 3 คู่ ดวงใหญ่ที่สุดอยู่ในคู่ A ซึ่งโคจรรรอบศูนย์มวลเดียวกันกับคู่ B ส่วนคู่ C เป็นคู่เล็กกว่าที่โคจรรอบรอบศูนย์มวลนั้นด้วย แต่มีคาบโคจรนานหลายพันปี


ดาวเกมินกา (Geminga – อ่านว่า เกมินกา ไม่ใช่ เจมินกา) มองด้วยตาไม่เห็น เพราะเป็นดาวนิวตรอน ภาพนี้สร้างขึ้นโดยการรวมภาพจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา (รังสีเอกซ์) กับกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิดเซอร์ (แสงอินฟราเรด)
